เรียนรู้โรคสะเก็ดเงิน - กลไกการเกิดโรค - การรักษา - เรียนรู้การมีชีวิตอยู่กับโรค

โรคข้ออักเสบอื่นที่พบได้ทั่วไป

โรคข้ออักเสบอื่นที่พบได้ทั่วไปซึ่งมีอาการบางอย่างเหมือนโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินได้แก่

1. Bursitis เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการอักเสบของหมอนรองกระดูก
2. Tendonitis เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็น
3. Gout (เก๊าท์) โรคข้ออักเสบที่เกิดจากการตกตะกอนของผลึกกรดยูริกที่ข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อบวม แดง ร้อน และข้อติด
4. Reactive Arthritis ข้ออักเสบที่มีอาการตาแดงร่วมด้วย มักเกิดจากการติดเชื้อ
5. Rheumatoid Arthritis (ข้ออักเสบรูมาตอยด์) เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบข้อต่อ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ข้อพิการได้

การตรวจคัดกรองโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา แพทย์ทั่วไปหรือแพทย์โรคผิวหนังอาจสามารถรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินได้ แต่ผู้ป่วยควรพิจารณาเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อโดยเฉพาะ

ไม่มีการตรวจคัดกรองเฉพาะสำหรับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน การตรวจจะใช้วิธีพื้นฐานทั่วไปโดยตรวจไปเรื่อยๆว่ามีข้อบ่งชี้ของโรคที่สงสัยว่าจะเป็นหรือไม่ ประวัติการรักษา ประวัติการตรวจร่างกาย ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRIs) และผลการเอ็กซเรย์ข้อต่อที่มีอาการ อาจใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบถึงประวัติการรักษาโรคของตัวเอง

อาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเหมือนกับอาการโรคข้ออักเสบชนิดอื่นอีกสามชนิด (ได้แก่ ข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคเก๊าท์ และ Reactive Arthrits) ข้ออักเสบรูมาตอยด์มักเกิดกับข้อต่อตำแหน่งเดียวกันของร่างกายทั้งซีกซ้ายและขวา และมักมีรอยบวมนูนที่ผิวหนังซึ่งไม่พบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน อย่างไรก็ดี โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินบางแบบก็มีอาการคล้ายคลึงกันกับข้ออักเสบรูมาตอยด์ การมีอาการโรคสะเก็ดเงินที่ผิวหนังและการเปลี่ยนสภาพของเล็บจะช่วยในการแยกแยะโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินได้

ภูมิคุ้มกันโรคเฉพาะ (เรียกว่า รูมาตอยด์แฟกเตอร์) มักพบในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่มักไม่พบในเลือดของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน การตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันตัวนี้อาจช่วยในการวินิจฉัยโรคสองโรคนี้ออกจากกัน อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยอาจเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์พร้อมกับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินก็ได้ แม้จะเป็นกรณีหายากก็ตาม การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และข้ออักเสบสะเก็ดเงินจะใช้วิธีรักษาเดียวกันในบางกรณี

เช่นเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยอาจเป็นโรคเก๊าท์ร่วมกับโรคสะเก็ดเงินและโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินด้วย หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อเฉียบพลัน โดยเฉพาะที่หัวแม่โป้งนิ้วเท้า ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาโรคเก๊าท์โดยการเจาะน้ำในข้อมาตรวจเพื่อแยกแยะว่าเป็นโรคเก๊าท์หรือโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินมักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคเก๊าท์เพราะมีปริมาณกรดยูริกสูงซึ่งอาจเป็นผลจากการได้รับยาแอสไพริน หรือการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังที่หลุดลอกออกมา เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะแยกแยะทั้งสองโรคนี้ออกจากกันเพราะการรักษาโรคแตกต่างกันมาก

ในระยะเริ่มแรกของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน การตรวจโดยการเอ็กซเรย์อาจไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค แต่ในระยะสุดท้ายของโรคการเอ็กซเรย์จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่ไม่พบในโรคข้ออักเสบชนิดอื่น โดยจะแสดงให้เห็นถึงกระดูกที่ปลายเรียวแหลมลงเหมือนปลายไส้ดินสอ

ประเภทของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินแบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ สมมาตร, อสมมาตร, Distal Interphalangeal Predominant (DIP), Spondylitis และ Arthritis Mutilans

ข้ออักเสบแบบสมมาตร (Symmetric Arthritis) มีอาการเหมือนโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์แต่รุนแรงน้อยกว่า มักเกิดกับข้อต่อหลายแห่งทั้งร่างกายซีกซ้ายและขวา (ข้อต่อจุดเดียวกันทั้งด้านซ้ายและขวา) อาจนำไปสู่ความพิการของผู้ป่วยได้

ข้ออักเสบแบบอสมมาตร (Asymmetric Arthritis) อาจเกิดอาการที่ข้อต่อหลายจุดพร้อมกันแต่ไม่ใช่ข้อเดียวกันของร่างกายอีกซีกหนึ่ง อาจเกิดกับข้อต่อใดก็ได้ เช่น หัวเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า หรือข้อมือ มือและเท้าอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเหมือนไส้กรอก อาจรู้สึกร้อนที่ข้อต่อ ผิวหนังด้านนอกแดงและอ่อนนุ่ม ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกปวดข้อเป็นพักๆ โดยเฉพาะหลังการรักษาทางกายภาพบำบัด ข้ออักเสบแบบนี้มักมีอาการไม่รุนแรงแม้ว่าในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการลุกลามจนพิการได้

Distal Interphalangeal Predominant (DIP) แม้ว่าอาการข้ออักเสบแบบนี้เป็นชนิด "พบได้บ่อย" แต่เกิดกับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเพียง 5% เท่านั้น มักเกิดกับข้อนิ้วมือนิ้วเท้าที่ใกล้เล็บ ร่วมกับอาการเล็บเปลี่ยนรูป

Spondylitis เป็นอาการอักเสบของกระดูกสันหลัง พบได้ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบที่ข้อ ข้อติด ที่ข้อต่อคอ หลังช่วงล่าง ข้อต่อกระดูกเชิงกราน ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายลำบากและเจ็บปวด อาจมีอาการที่มือ แขน เอว ขา และ เท้าร่วมด้วย

Arthritis Mutilans เป็นอาการข้ออักเสบร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายกับร่างกายผู้ป่วยอย่างมาก พบได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มักเกิดกับข้อต่อเล็กๆ ตามมือและเท้า มักพบร่วมกับอาการปวดคอและปวดหลังช่วงล่าง

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินอาจค่อยๆมีอาการมากขึ้นอย่างช้าๆ หรืออาจกำเริบเฉียบพลันก็ได้ การตรวจและวินิจฉัยโรคแต่เนิ่นๆ ช่วยป้องกันและลดความเสียหายที่จะ
เกิดขึ้นกับข้อต่อของร่างกายผู้ป่วย

โดยทั่วไปอาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินมีดังต่อไปนี้ :-
  • อ่อนเพลีย
  • ปวด บวม ตามเส้นเอ็น
  • นิ้วมือนิ้วเท้าบวม
  • ข้อติด ปวดบวมตามข้อ และ ข้อล้า
  • ขยับร่างกายได้ลำบากเนื่องจากข้อติด
  • รู้สึกเหนื่อยอ่อนและตัวแข็งหลังตื่นนอนใหม่ๆ
  • เล็บเปลี่ยนสี เป็นรอยบุ๋ม หรือเผยอแยกตัวออกจากเนื้อใต้เล็บคล้ายกับเป็นเชื้อรา
  • ตาแดงและปวดตา
อาการของโรคจะลุกลามไปสู่ข้อต่อหลังได้รับบาดเจ็บ มีอาการเหมือนหมอนรองกระดูกฉีกขาด แพทย์อาจต้องตรวจหลายครั้งก่อนจะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคข้อ
อักเสบสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อโดยไม่มีอาการบวม อาการบวมที่นิ้วมือและนิ้วเท้าอาจทำให้นิ้วมีลักษณะเหมือนไส้กรอก มักเป็นที่ข้อนิ้วข้อสุดท้ายที่อยู่ใกล้เล็บ นอกจากนี้อาจมีอาการที่หลังช่วงล่าง ข้อมือ ข้อเข่า หรือข้อเท้าร่วมด้วย

ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยข้ออักเสบสะเก็ดเงินจะเริ่มด้วยอาการโรคสะเก็ดเงินที่ผิวหนัง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ต้องบอกแพทย์ผู้รักษาเมื่อเริ่มมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ได้รับการเอ่ยถึงครั้งแรกในปี พศ 2361 โดยนายแพทย์บารอน จีน หลุยส์ อลิเบอรท์ ชาวฝรั่งเศส และได้รับการแยกประเภทออกจากโรค
ข้ออักเสบชนิดอื่นในช่วงปี 2493

ประมาณ 10%-30% ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะมีอาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินร่วมด้วย ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวโดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการไม่มาก

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ แต่มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 30-50 ปี และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เชื่อกันว่ากรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย และสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยทำให้เกิดอาการข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

การตรวจ และรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและการอักเสบ และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อต่อของร่างกาย
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลให้โรคกำเริบลุกลามนำไปสู่ความพิการถาวรได้