เรียนรู้โรคสะเก็ดเงิน - กลไกการเกิดโรค - การรักษา - เรียนรู้การมีชีวิตอยู่กับโรค

ค่ารักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์

ยาไบโอลอจิกส์ยังมีราคาแพงมาก ประมาณการว่าอย่างน้อยผู้ป่วยต้องใช้เงินถึงปีละ 400,000 บาทเป็นค่ายา ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณยา และความถี่ในการใช้ยา ในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งแตกต่างกันไป

จะรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์ได้ที่ไหน

แพทย์จะเป็นผู้สั่งยาไบโอลอจิกส์เท่านั้น การให้ยาอาจทำที่โรงพยาบาล คลีนิคแพทย์ หรือที่บ้านโดยผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกฝนจากแพทย์

ผลข้างเคียงในการรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์

ผลข้างเคียงในการรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์แตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน โดยทั่วไปผลข้างเคียงที่มักพบกันได้แก่ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อาการ
เหมือนไข้หวัด และอาการบวม คัน หรือมีผื่นขึ้นบริเวณที่ฉีดยา โดยทั่วไปมักมีอาการข้างเคียงน้อยไม่ส่งผลต่อการหยุดใช้ยาของผู้ป่วย

การใช้ยาไบโอลอจิกส์สำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงิน และโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินยังเป็นเรื่องใหม่ ความปลอดภัยในการรักษายังอยู่ระหว่างเก็บข้อมูลและประมวลผล
ผู้ป่วยที่คิดจะเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้คววรปรึกษาแพทย์ก่อนจะตัดสินใจว่าจะเลือกรักษาโรคด้วยวิธีใด

ประสิทธิภาพของยาไบโอลอจิกส์

โดยทั่วไปการรักษาโรคสะเก็ดเงินและโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินด้วยยาไบโอลอจิกส์จะให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ แต่ผลการรักษาจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน
ในผู้ป่วยบางรายการรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์ไม่ให้ผลอะไรเลย หรือยาตัวหนึ่งอาจไม่ส่งผลต่อการรักษา แต่ยาไบโอลอจิกส์อีกตัวหนึ่งอาจให้ผลดีในการรักษาก็ได้
ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกแต่ละทางก่อนทำการรักษา

การให้ยาไบโอลอจิกส์ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

- โดยการฉีดหรือผสมในน้ำเกลือแล้วถ่ายเข้าสู่เส้นเลือด
- ความถี่ในการให้ยาขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีขึ้น แต่บางรายก็ไม่ดีขึ้น
- มีความเสี่ยงอยู่บ้างในการใช้ยา
- ผลข้างเคียงระยะสั้นมักมีอาการเล็กน้อย
- ความปลอดภัยของยาในระยะยาวยังอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล
- ราคาแพง มากกว่า 400,000 บาทต่อปี

การรักษาโดยการใช้ยาไบโอลอจิกส์

แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายใดควรจะได้รับการรักษาโดยการใช้ยาไบโอลอจิกส์ โดยทั่วไปจะเป็นผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหรือโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินที่มี
อาการปานกลางถึงรุนแรง หรือผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของการรักษาด้วยวิธีอื่น หรือผู้ป่วยที่ไม่
สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านสุขภาพเฉพาะบุคคล เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับจะไม่สามารถใช้ยาเมโธเทรเซท หรือผู้ป่วยที่มีประวัติเป็น
โรคมะเร็งผิวหนังจะไม่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีการฉายแสง ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับการรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์ได้หากภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำ
กว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยที่กำลังรักษาโรคอื่นที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะติดเชื้อก็ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์เช่นกัน หรือ
หากผู้ป่วยเกิดติดเชื้อจากโรคอื่นในขณะรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์แพทย์อาจหยุดการใช้ยาไบโอลอจิกส์ชั่วคราว โดยทั่วไปก่อนการรักษาด้วยยาไบโอลอจิกส์ควรทำ
การตรวจหาวัณโรคก่อน

กลไกการรักษาของยาไบโอลอจิกส์

ยาไบโอลอจิกส์ถูกออกแบบให้รักษาโรคสะเก็ดเงินและโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินโดยการจู่โจมหรือไล่ต้อนภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นให้ทำงานเกินขนาด (overactive) ยาไบโอลอจิกส์บางตัวจะจู่โจมภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า ทีเซลล์ (T cell) ในขณะที่บางตัวจะจู่โจมสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากทีเซลที่ทำงานเกินขนาด

ทีเซลล์เป็นภูมิคุ้มกันทั่วไปประเภทหนึ่งในร่างกายมนุษย์ ปกติมันจะจัดการเฉพาะแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินพบว่าทีเซลล์กลับ
ได้รับการกระตุ้นให้ทำงานที่ผิวหนัง โดยแทนที่จะทำการจัดการกับเชื้อโรคกลับจัดการกับเซลล์ผิวหนังส่งผลให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วเกิดเป็นผื่น
ยาไบโอลอจิกส์บางตัวจะป้องกันการถูกกระตุ้นของทีเซลล์ หรือป้องกันการเคลื่อนย้ายทีเซลล์ไปที่ผิวหนัง หรือลดจำนวนทีเซลล์ชนิดที่ทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน

ในสภาวะปกติ TNF-alpha (tumor necrosis factor-alpha) จะช่วยปราบการติดเชื้อและทำหน้าที่ส่งสัญญานประสานการทำงานระหว่างเซลล์ ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินและโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน พบว่า TNF-alpha ถูกปล่อยออกมาจากทีเซลล์เป็นปริมาณมากผิดปกติ ทำให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่อย่างรวดเร็วในปริมาณมาก หรือทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อติด หรืออาการอื่นๆ ยาไบโอลอจิกส์บางตัวจะจับยึด TNF-alpha ป้องกันการส่งสัญญานไปยังเซลล์

ยาไบโอลอจิกส์ (Biologics)

ยาส่วนมากเป็นส่วนผสมของสารเคมีหลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน ในขณะที่ยาไบโอลอจิกส์ทำจากโปรตีนของคนหรือสัตว์ ยาไบโอลอจิกส์มีการใช้กันมานานกว่าร้อยปีแล้ว วัคซีนและอินซูลินถือเป็นยาไบโอลอจิกส์เพราะสร้างจากสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม เพิ่งมีการพัฒนายาไบโอลอจิกส์สำหรับใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินและโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินไม่นานมานี้เอง คาดว่ายาไบโอลอจิกส์จะเป็นแนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ให้ผลดีในอนาคต

ยาไบโอลอจิกส์แตกต่างกับยาตัวอื่นที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินตรงที่มันถูกออกแบบให้จัดการกับโรคตั้งแต่ต้น - ในระบบภูมิคุ้มกัน โรคสะเก็ดเงินและโรคข้ออักเสบ
สะเก็ดเงินแสดงอาการของโรคจากการที่ภูมิคุ้มกันโรคตัวหนึ่งทำงานเกินขนาดจากการได้รับการกระตุ้น สุดท้ายแทนที่จะจัดการเชื้อโรคกลับทำให้เกิดผื่นสะเก็ด
เงินที่ผิวหนัง หรือข้ออักเสบ ยาไบโอลอจิกส์จะทำการบล็อกการทำงานของภูมิคุ้มกันดังกล่าว

อันที่จริงการรักษาอาการโรคสะเก็ดเงินส่วนมากล้วนแต่มุ่งจัดการกับระบบภูมิคุ้มกันทั้งสิ้น ตั้งแต่การรักษาโดยการฉายแสง หรือการให้ยา อย่างไรก็ดี ความแตก
ต่างอยู่ที่ว่า ยาอย่าง เมโธเทรเซท และ ไซโคลโปรีน จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมดซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายผู้ป่วย ในขณะที่ยาไบโอลอจิกส์จะเข้า
จัดการเฉพาะภูมิคุ้มกันตัวที่ทำให้เกิดอาการโรคสะเก็ดเงินเท่านั้น จึงถือได้ว่ายาไบโอลอจิกส์มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน และโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
มากกว่า ถึงแม้ว่าผลข้างเคียงในระยะยาวยังไม่มีใครทราบก็ตาม

การรักษาด้วยการกินยา หรือฉีดยา (Systemics)

การรักษาด้วยการกินยา หรือฉีดยา (Systemics)

การรักษาด้วยการกินยา หรือฉีดยา จะส่งผลต่อทั้งร่างกายของผู้ป่วย ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปานกลางถึงรุนแรงซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการใช้ยา
ทาเฉพาะที่ หรือผลการรักษาด้วยการใช้แสงไม่เป็นที่น่าพอใจ

ไบโอลอจิกส์ เป็นยาตัวใหม่ที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน พัฒนาจากเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างจากยารุ่นเก่าที่ประกอบจากส่วนผสมของสารเคมีหลายๆ ตัว จากข้อมูลถึง
เดือน มกราคม 2551 อามีไวฟว์ (Amevive), เอนเบรล (Enbrel), ฮูมิร่า (Humira), แร็พทิว่า (Raptiva) และ เรมิเคด (Remicade) ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา และ เอนเบรล (Enbrel), ฮูมิร่า (Humira), และ เรมิเคด (Remicade) ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาโรคปวดข้อเนื่องจากโรคสะเก็ดเงิน

ยังมียาไบโอลอจิกส์อีกหลายตัวอยู่ระหว่างการพัฒนาค้นคว้าเพื่อใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน และโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

ยาไบโอลอจิกส์เป็นยาใหม่มีการใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินไม่นานนัก ความปลอดภัยของยายังอยู่ในระหว่างการประเมิน นอกจากนี้ ผลข้างเคียงของการใช้ยาต่อเนื่อง
ระยะยาวยังไม่เป็นที่รู้กัน

นอกจากนี้ ยังมียา ไซโคลสโปรีน (Cyclosporine) ซึ่งใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยะป้องกันการต่อต้านไม่ยอมรับอวัยวะที่เปลี่ยนถ่ายไป โดยในปี พศ. 2540 ยานีโอรัล (Neoral) ซึ่งเป็นชื่อการค้าหนึ่งของไซโคลสโปรีน ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาให้ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน

เมโธเทรเซท (Methotrexate) เป็นยาที่ใช้มานานในการรักษาโรคมะเร็ง ต่อมาในช่วงปี พศ. 2493 พบว่ายานี้สามารถรักษาผื่นสะเก็ดเงินให้หายได้ และได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินในช่วงปี พศ. 2513

โซริเอเทน (Soriatane) หรือที่เรียกกันว่า เรตินอยด์แบบใช้กิน ได้จากการสังเคราะห์วิตามินเอ มีการเริ่มใช้เรตินอยด์สังเคราะห์ตั้งแต่ช่วงปีพศ. 2513 และได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พศ.2523 โซริเอเทนเป็นยาเรตินอยด์แบบกินชนิดเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหาร
และยาให้ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน

นอกจากนี้ ก็ยังมียา แอคคิวเทน (Accutane), ไฮเดรีย (Hydrea), ไมโคเฟโนเลต โมเฟติล (Mycophenolate Mofetil), ซัลฟาซาลาซีน
(Sulfasalazine), 6-ธิโอกูอานีน (6-Thioguanine)

การรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยยาทาเฉพาะที่

การรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยยาทาเฉพาะที่

การรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่เป็นทางเลือกแรกในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน นักวิจัยเชื่อว่าโรคสะเก็ดเงินเกิดจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยส่งสัญญานกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นผื่นแดงนูนหนาและสะเก็ดที่ผิวหนัง การทายาจะช่วยลดการสร้างเซลล์ผิวหนังและลดอาการอักเสบของผิวหนัง ปัจจุบันมียาทาที่ให้ผลในการรักษาหลายขนาน บางตัวสามารถซื้อหาได้ทั่วไปตามร้านขายยา ในขณะที่บางตัวต้องมีใบสั่งแพทย์

ยาที่สามารถซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ได้แก่
1. กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
กรดซาลิไซลิกจะช่วยขจัดสะเก็ดผิวหนังให้หลุดออกง่ายขึ้น มักผสมในยาทาสเตียรอยด์ แอนธราลิน หรือ น้ำมันดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยาดังกล่าว

2. น้ำมันดิน (Tar)
น้ำมันดินมีจำหน่ายในรูปยาทาเฉพาะที่ แชมพูสระผม และ สบู่เหลว น้ำมันดินจะช่วยชลอการสร้างเซลล์ผิวหนังและลดอาการอักเสบของผิวหนัง ลดอาการคัน และ
ลดปริมาณสะเก็ด สามารถใช้คู่กับการฉายรังสี

ยาที่ซื้อโดยใบสั่งแพทย์
1. แอนธราลิน (Anthralin)
ยาชนิดนี้ให้ผลดีในการรักษาผื่นสะเก็ดเงิน แต่ใช้เวลาสักพักกว่าจะเห็นผลการรักษา (ต่างกับการใช้ยาสเตียรอยด์อย่างแรงที่เห็นผลทันทีที่ใช้) ข้อดีของแอนธราลินคือไม่มีผลข้างเคียงในการใช้ยาต่อเนื่องระยะยาว

2. โดโวเน็กซ์ (Dovonex)
ยาชนิดนี้ได้จากการสังเคราะห์วิตามินดี3 (synthetic vitamin D3) ช่วยในการชลอการสร้างเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผื่นยุบ และ สะเก็ดหลุดร่อน สามารถใช้รักษาผื่นที่หนังศรีษะและที่เล็บ

3. ทาโคลเน็กซ์ (Taclonex)
ยาชนิดนี้อยู่ในรูปครีมขี้ผึ้ง ประกอบด้วยส่วนผสมของแคลซิโปทรีน (calcipotriene) ซึ่งเป็นส่วนผสมออกฤทธิ์ในโดโวเน็กซ์ กับสเตียรอยด์ เบต้าเมธาโซน ไดโพรพิโอเนท (betamethasone dipropionate) ช่วยลดการสร้างเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผื่นยุบตัว และสะเก็ดหลุดร่อน พร้อมกับลดอาการอักเสบและลดอาการคัน

4. ทาโซแรค (Tazorac)
มีจำหน่ายในรูปเจลหรือครีม (หรือรู้จักในชื่อทั่วไปว่า ทาซาโรทีน (tazarotene)) ทาโซแรคเป็นอนุพันธ์ของวิตะมินเอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เรตินอยด์ สามารถใช้ที่หน้า หนังศรีษะ หรือ เล็บ

5. ยาทาสเตียรอยด์เฉพาะที่ (Topical steroids)
คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) หรือที่เรียกทั่วไปว่า สเตียรอยด์ มักใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ให้ผลดีในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากถึงอาการปานกลาง ใช้ง่ายและให้ผลเร็ว

การรักษาโรคสะเก็ดเงิน

การรักษาอาการของโรคมีหลายวิธี ตั้งแต่ซื้อยาเองตามร้านขายยา หรือ การสั่งยาเฉพาะโดยแพทย์ผู้รักษา โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาด้วยการใช้ยาทาเฉพาะที่ หรือใช้การรักษาหลายวิธีผสมกัน ไม่มีการรักษาใดที่เป็นสูตรสำเร็จได้ผลสำหรับทุกคน เป้าหมายสำคัญในการรักษาอาการของโรคคือหาวิธีที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ที่มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด

1. การรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่
เป็นวิธีการรักษาอาการอันดับแรก ก่อนจะใช้วิธีอื่น (หากวิธีนี้ไม่ได้ผล)

2. การรักษาด้วยการกินยา หรือ ฉีดยา (Systemics) วิธีนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ยาที่ให้แก่ผู้ป่วยจะส่งผลต่อทุกอวัยวะในร่างกายไม่เฉพาะรอยโรค ใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง

3. การฉายแสง
วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น แสงที่ใช้ในการรักษาจะเป็น อัลตราไวโอเล็ตบี, PUVA หรือ เลเซอร์

4. การรักษาทางเลือก
เช่น การควบคุมอาหาร การนั่งสมาธิ แช่น้ำแร่ การอาบแดด เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงิน

การตรวจโรคสะเก็ดเงินไม่ยุ่งยากแม้ว่าตัวโรคเองจะซับซ้อนก็ตาม เนื่องจากมีโรคผิวหนังที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคสะเก็ดเงินอยู่หลายโรค ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์โรคผิวหนัง

โดยทั่วไปแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย (และเนื่องจากโรคสะเก็ดเงินสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ การให้ข้อมูลการเกิดโรคสะเก็ดเงินของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยจะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้น) ในบางกรณีอาจมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจพิสูจน์ในห้องแล็บ

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรัง (ตลอดชีวิต) อาการของโรคจะขึ้นกับแต่ละบุคคล ทั้งในเรื่องความร้ายแรงของอาการและการตอบสนองต่อการรักษา แต่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะมีอาการไม่มากนัก โรคสะเก็ดเงินมักไม่มีการทรุดของโรค หมายความว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป

โรคสะเก็ดเงินพบได้ทั่วไปประมาณ 3% ของพลเมืองทั้งหมด โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ และ เป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม

ประเภทของโรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินมี 5 แบบ ดังนี้:-

1. Plague เป็นโรคสะเก็ดเงินที่พบมากที่สุด รอยโรคเห็นเป็นผื่นหนาสะเก็ดสีเงิน
2. Guttate รอยโรคเป็นผื่นจุดแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง
3. Inverse มักพบตามซอกรักแร้ อวัยวะเพศ หรือข้อพับ รอยโรคจะเห็นเป็นรอยแดง
4. Pustular รอยโรคเป็นผื่นขาวล้อมรอบด้วยรอยแดง
5. Erythrodermic รอยโรคเป็นรอยแดงจัดกินบริเวณกว้าง

ตำแหน่งที่มักพบรอยโรค:-
- หนังศรีษะ
- อวัยวะเพศ
- ใบหน้า เช่น รอบดวงตา ใบหู ปาก และ จมูก
- ฝ่ามือ และ ฝ่าเท้า
- เล็บ

โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ พบได้ทั่วไปประมาณ 3% ของพลเมืองทั้งหมดในโลก

โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรังเกิดเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนัง เล็บ อย่างรวดเร็วกว่าปกติ 7 เท่า เกิดเป็นผื่นนูนหนาสี
แดง คลุมด้วยสะเก็ดสีเงินด้านนอก

โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ พบได้ทั่วไปประมาณ 3% ของพลเมืองทั้งหมดในโลก

ต้นเหตุของโรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรังเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนัง เล็บ อย่างรวดเร็วผิดปกติ นอกจากนี้ 30% ของผู้ป่วยโรค
สะเก็ดเงินจะมีอาการข้ออักเสบด้วย ในบางคนพบว่าโรคสะเก็ดเงินมีความเกี่ยวเนื่องกับโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคอ้วน โรคซึมเศร้า ประมาณว่ามีผู้ป่วยโรค
สะเก็ดเงินทั่วโลก 3% ของพลเมืองทั้งหมด

จากใจผู้เขียน

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน คุณอาจรู้สึกโกรธ กลัว สับสน และ ปฏิเสธความจริง (ว่าคุณเป็นโรคนี้)

การจัดการอาการของโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้สาเหตุของโรคและทางเลือกในการรักษา ปรึกษาทำความเข้าใจกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง คนใกล้ชิด และสุดท้าย เข้าใจตัวเอง คุณเป็นคนมีคุณค่าแม้ว่าจะเป็นโรคนี้ก็ตาม

ข้อสำคัญ ระลึกไว้เสมอว่าคุณไม่ได้ผจญปัญหาอย่างโดดเดี่ยวลำพัง คุณสามารถแสวงหาความช่วยเหลือได้จากเครือข่ายการแพทย์ต่างๆ ที่พร้อมจะรับฟังปัญหา และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนกับคุณ

ขณะนี้ มีการค้นคว้าและวิจัยเพื่อหาวิธีการรักษาโรคสะเก็ดเงินอยู่อย่างต่อเนื่อง นักวิจัยได้ทราบถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ สาเหตุของโรค กลไกการเกิดโรค ยาและสารเคมีที่สามารถหยุดยั้งหรือชลออาการของโรค สิ่งที่เราได้ทราบในวันนี้ อาจถูกหักล้างโดยผลการวิจัยใหม่ในวันพรุ่งนี้ ดังนั้น ขอให้คุณติดตามข่าวสารและการพัฒนาแนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะกับคุณมากที่สุด

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต เกิดจากการทำงานผิดปกติของภูมิคุ้มกันโรคของตัวผู้ป่วยเอง อาการอาจกำเริบเป็นระยะ หรือหายไปเอง ไม่แน่นอน อย่าได้หลงเชื่อคำอวดอ้างว่ามียาดีที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น ขอให้เรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคนี้อย่างมีความสุข แล้วจะพบว่าการเป็นโรคนี้เป็นเรื่องเล็ก