การรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยยาทาเฉพาะที่
การรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่เป็นทางเลือกแรกในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน นักวิจัยเชื่อว่าโรคสะเก็ดเงินเกิดจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยส่งสัญญานกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นผื่นแดงนูนหนาและสะเก็ดที่ผิวหนัง การทายาจะช่วยลดการสร้างเซลล์ผิวหนังและลดอาการอักเสบของผิวหนัง ปัจจุบันมียาทาที่ให้ผลในการรักษาหลายขนาน บางตัวสามารถซื้อหาได้ทั่วไปตามร้านขายยา ในขณะที่บางตัวต้องมีใบสั่งแพทย์
ยาที่สามารถซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ได้แก่
1. กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
กรดซาลิไซลิกจะช่วยขจัดสะเก็ดผิวหนังให้หลุดออกง่ายขึ้น มักผสมในยาทาสเตียรอยด์ แอนธราลิน หรือ น้ำมันดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยาดังกล่าว
2. น้ำมันดิน (Tar)
น้ำมันดินมีจำหน่ายในรูปยาทาเฉพาะที่ แชมพูสระผม และ สบู่เหลว น้ำมันดินจะช่วยชลอการสร้างเซลล์ผิวหนังและลดอาการอักเสบของผิวหนัง ลดอาการคัน และ
ลดปริมาณสะเก็ด สามารถใช้คู่กับการฉายรังสี
ยาที่ซื้อโดยใบสั่งแพทย์
1. แอนธราลิน (Anthralin)
ยาชนิดนี้ให้ผลดีในการรักษาผื่นสะเก็ดเงิน แต่ใช้เวลาสักพักกว่าจะเห็นผลการรักษา (ต่างกับการใช้ยาสเตียรอยด์อย่างแรงที่เห็นผลทันทีที่ใช้) ข้อดีของแอนธราลินคือไม่มีผลข้างเคียงในการใช้ยาต่อเนื่องระยะยาว
2. โดโวเน็กซ์ (Dovonex)
ยาชนิดนี้ได้จากการสังเคราะห์วิตามินดี3 (synthetic vitamin D3) ช่วยในการชลอการสร้างเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผื่นยุบ และ สะเก็ดหลุดร่อน สามารถใช้รักษาผื่นที่หนังศรีษะและที่เล็บ
3. ทาโคลเน็กซ์ (Taclonex)
ยาชนิดนี้อยู่ในรูปครีมขี้ผึ้ง ประกอบด้วยส่วนผสมของแคลซิโปทรีน (calcipotriene) ซึ่งเป็นส่วนผสมออกฤทธิ์ในโดโวเน็กซ์ กับสเตียรอยด์ เบต้าเมธาโซน ไดโพรพิโอเนท (betamethasone dipropionate) ช่วยลดการสร้างเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผื่นยุบตัว และสะเก็ดหลุดร่อน พร้อมกับลดอาการอักเสบและลดอาการคัน
4. ทาโซแรค (Tazorac)
มีจำหน่ายในรูปเจลหรือครีม (หรือรู้จักในชื่อทั่วไปว่า ทาซาโรทีน (tazarotene)) ทาโซแรคเป็นอนุพันธ์ของวิตะมินเอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เรตินอยด์ สามารถใช้ที่หน้า หนังศรีษะ หรือ เล็บ
5. ยาทาสเตียรอยด์เฉพาะที่ (Topical steroids)
คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) หรือที่เรียกทั่วไปว่า สเตียรอยด์ มักใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ให้ผลดีในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากถึงอาการปานกลาง ใช้ง่ายและให้ผลเร็ว
เรียนรู้โรคสะเก็ดเงิน - กลไกการเกิดโรค - การรักษา - เรียนรู้การมีชีวิตอยู่กับโรค
Comments (0)
แสดงความคิดเห็น